บัญญัติไตรยางศ์แบบแปรผกผัน

บัญญัติไตรยางศ์แบบแปรผกผัน

เมื่อสิ่งหนึ่งเพิ่ม อีกสิ่งหนึ่งจะลดลง

บัญญัติไตรยางศ์ หรือที่มักเขียนผิดกันเป็น บัญญัติไตรยางค์
ซึ่งภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Rule of three (Rule of 3) นั้น
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. บัญญัติไตรยางค์แบบแปรผันตรง
2. บัญญัติไตรยางค์แบบแปรผกผัน
แอปนี้จะครอบคลุมในส่วนของการแปรผกผัน
ซึ่งอาจพบเห็นในชื่อของสัดส่วนผกผัน หรือการแปรกลับกัน ได้เช่นกัน

เรามักจะได้เรียนวิชาบัญญัติไตรยางค์กันสมัย ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
คาบวิชาคณิตศาสตร์ ป.4 – ป.6 ซึ่งรูปแบบจะเริ่มจาก สมการง่ายๆ เพื่อหาสัดส่วนที่เท่าเดิมก่อน
แล้วจึงตามมาด้วยโจทย์ปัญหาต่างๆ ซึ่งรูปแบบวิธีคิดจะถูกถ่ายทอดในแอปนี้เช่นกัน

 

บัญญัติไตรยางศ์ การแปรผกผันในชีวิตประจำวัน:

• สำหรับการคิด workforce หรือกำลังคนในงาน หรือกำลังการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์

• ใช้คน 4 คนช่วยกันทำงานเสร็จใน 28 วัน

   ถ้าใช้คน 6 คน งานควรจะเสร็จในกี่วัน


• เครื่องคอม 3 เครื่องประมวลผลงานทั้งหมดเสร็จใน 7 วัน

   ถ้ามีเครื่องคอมมาช่วยเพิ่มเป็น 11 เครื่อง งานควรจะเสร็จในกี่วัน

• สำหรับการคำนวณปริมาณอาหารในฟาร์มปศุสัตว์

   อาหารปลา 1 ถุง เลี้ยงปลา 15 ตัว ได้ 43 วัน

   ถ้ามีปลาเพิ่มมาเป็น 18 ตัวจะเลี้ยงได้กี่วัน

>> ทั้งหมดนี้เราช่วยคุณได้: ปัญหาที่ลดลงของการเพิ่มขึ้น <<

คุณสมบัติ:

• คำนวณผลลัพธ์ที่เกิดจากการแปรผกผันของค่าสัดส่วนตั้งต้นและค่าตั้งต้นใหม่

• เลือกจำนวนตำแหน่งทศนิยมสำหรับคำตอบ

• พร้อมตัวอย่างโจทย์และการใช้งานในชีวิตประจำวัน

———————————

ตัวตั้งต้น a ทำผลลัพธ์สำเร็จในเวลา b

ถ้ามีตัวตั้งต้นใหม่ c จะทำผลลัพธ์ให้สำเร็จในเวลา d

ถ้าการที่มี c มากขึ้นจะทำให้ใช้ d ลดลง

วิธีคิดโจทย์ประเภทแปรผกผัน แปรกลับกัน หรือสัดส่วนผกผัน

หาก่อนว่า ตัวตั้งต้น 1 ส่วน จะทำผลลัพธ์ให้สำเร็จเมื่อใด

วิธีคิดทั่วไป

มองว่าเรามีตัวตั้งต้น a ส่วน ทำผลลัพธ์สำเร็จในเวลา b

โจทย์แบบผกผันเช่นนี้ จะมองว่าถ้าใช้ a เพียงส่วนเดียวจะทำผลลัพธ์ให้สำเร็จต้องใช้เวลา b x a ส่วน

ถ้าเรามีตัวตั้งต้นใหม่เป็น c ส่วน

จะทำผลลัพธ์ให้สำเร็จต้องใช้เวลา (b x a)/c

คือมองหาปริมาณงานทั้งหมด (b x a )

แล้วนำมาหารจำนวนตัวตั้งต้นใหม่ จะได้ (b x a)/c นั่นเอง

———————————